ชาวสวนยาง….เรารอดแล้ว

ชาวสวนยาง....เรารอดแล้ว

สวัสดีครับ พบกันอีกครั้งนะครับ .........

จากสถานการณ์ของยางพาราใน 2-3 ปีที่ผ่านมา
มีราคาตกต่ำ และเกษตรกรเริ่มละทิ้งสวนยางไปทำพืชอื่น เป็นที่น่าเสียดายมากครับ จริง ๆ แล้ว ยังพอมีทางออกอยู่บ้างผมจึงขอให้ความรู้เรื่องยางพารากันนะครับ........

ยางพารา ถือเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย มีพื้นที่ปลูกเป็นอันดับ 2 รองจากข้าว คือมากกว่า 20 ล้านไร่ เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ยืนต้นผลัดใบ เป็นพืชที่ชอบน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำขัง จะเป็นโรคเชื้อราได้ จึงนิยมปลูกบนที่ดอนในเขตที่มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มล./ปี เช่นในภาคใต้ และภาคตะวันออก ปกติจะปลูก 70-75 ต้น/ไร่ ให้ผลผลิตเป็นน้ำยางเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อยางอายุ 6-7 ปี จนถึงอายุ 22-25 ปี แต่ถ้ากรีดดีๆและ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ดีๆ อาจเก็บเกี่ยวได้นานกว่า 30 ปี น้ำยางเมื่อแปรรูปเป็นยางแผ่น จะมีผลผลิตเฉลี่ย 300-500 กก./ไร่/ปี
เดิมยางพารามีราคาสูงกว่า 100 บาท/กก.(ยางแผ่น)

จึงนิยมปลูกในทุกภูมิภาค แต่ปัจจุบันราคาตกต่ำเหลือเพียงประมาณ 40 บาท/กก.แต่ก็ยังถือว่ารายได้ดีกว่าพืชชนิดอื่นๆ เพราะปลูกครั้งเดียว แต่เก็บเกี่ยวได้นาน และมีค่าการจัดการต่ำ ไม่ต้องไถดินปลูกทุกปีเหมือนพืชล้มลุกทั่วไป และต้นยางเมื่อตัดแล้ว ยังขายได้ไร่ละหลายหมื่นบาท แถมยังมีกองทุนสวนยางให้งบสนับสนุนการปลูกใหม่ไร่ละ10,000 บาท

เราจึงยังเห็นคนส่วนมากที่โค่นยางแล้วกลับมาปลูกยางอีก แม้ราคายางไม่ดี เกษตรกรชาวสวนยางอย่าเพิ่งหมดหวังครับ เรายังสามารถพึ่งพาผลผลิตยางยังชีพได้ อย่าเพิ่งละทิ้งการปลูก และโค่นยางทิ้ง

บริษัท เอสทีฯ ได้เล็งเห็นปัญหานี้ จึงได้พัฒนาปุ๋ยที่เหมาะสมกับยางพารามาจำหน่ายในราคาถูก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดผง มีปริมาณอินทรีย์วัตถุกว่า20% มีแร่ธาตุหลายชนิดและผสมเชื้อไตรโคเดอร์มาป้องกันเชื้อและรักษาโรคเชื้อรา รักษาโรคหน้ายางตายนึ่ง เป็นชนิดผงพืชจึงกินได้เร็วแม้ความชื้นต่ำ ช่วยปกป้องผิวดินรักษาความชื้นใต้ดิน ทำให้ยางมีน้ำยางไหลดี ทนแล้ง เปลือกยางเกิดใหม่เร็วแถมนิ่มและหนา ช่วยสร้างระบบรากขยายกว้าง ดูดอาหารได้เก่งและทำให้อายุการกรีดนานกว่า 25 ปี

ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดผงต้นทุนถูกราคาเพียง 290 บาท/กระสอบ(50กก.) ใส่ได้ทั้งยางเล็ก (1กระสอบ/ไร่) และยางเปิดกรีดแล้ว (2กระสอบ/ไร่ ) ควรใช้สลับหรือร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 6-3-3และสูตร 6-3-6 ที่อัตรา 50กก./ไร่ จะได้ผลสูงสุด (400-500กก./ไร่) และสร้างรายได้เพียงพอไม่แพ้พืชชนิดอื่นๆ.........

พอจะสบายใจกันแล้วนะครับ ลองทำตามที่แนะนำดูนะครับ

แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้า สวัสดีครับ

จาก ดร.ปุ๋ย..........

https://www.facebook.com/ninphetfer
https://www.facebook.com/StFertilityCoLtd